ประวัติกรมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน
SPECIAL OPERATIONS REGIMENT
ประวัติการจัดตั้ง "กรมปฎิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน"
ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๙ กองทัพอากาศได้จัดตั้งหลักสูตรพิเศษขึ้น มีหน้าที่ช่วยเหลือนักบินและผู้ท าการในอากาศ กรณีอากาศยานของทางฝ่ายเราถูกยิ่งตกจากการสู้รบกับฝ่ายของศัตรู หรือเกิดเหตุฉุกเฉินเครื่องบินตก กระทั่งเหตุการณ์ปล้นยึดอากาศยาน การก่อการร้ายสากล ครั้งแรกที่ก่อตั้งขึ้นเป็นเพียงหน่วยงานระดับกองร้อย ใช้ชื่อว่า“ กองร้อยปฏิบัติการพิเศษ ” อยู่ในการบังคับบัญชาของ กองพันสารวัตรทหารอากาศที่๒ โดยขึ้นการบังคับบัญชากับ ส านักงานผู้บังคับทหารอากาศดอนเมือง โดยบรรจุเจ้าหน้าที่ค้นหาและช่วยชีวิตเข้าปฏิบัติงานภายในหน่วยและในวันที่ ๓๐ ต.ค. ๒๕๒๐ ได้มีการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการพิเศษ ” มีก าลังชุดแรกจำนวน ๑๗ นาย ต่อจากนั้นในวันที่ ๓๐ ธ.ค. ๒๕๒๐ ได้มีค าสั่งกองทัพอากาศ (เฉพาะ) ที่๑๙๘/๒๐ เรื่อง “ ให้จัดตั้งกองร้อยปฏิบัติการพิเศษ ”ขึ้นอย่างเป็นทางการ มีข้าราชการกองทัพอากาศทุกเหล่าที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร โดดร่ม จู่โจม,การยังชีพในป่าและการปฐมพยาบาลเช้าบรรจุในกองร้อยปฏิบัติการพิเศษนี้ โดยมี นาวาอากาศตรี สุรัตน์สุวรรณประเสริฐ เป็นผู้บังคับ “ กองร้อยปฏิบัติการพิเศษ “ คนแรก และมี นาวาอากาศเอก วันชัย วิไลพงษ์ ( ยศในขณะนั้น )เป็นผู้บังคับทหารอากาศดอนเมือง ด้วยภารกิจที่มีความส าคัญและมีจ านวนมากขึ้นจึงท าให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการพิเศษในการปฏิบัติภารกิจมีไม่พียงพอ
ปีพุทธศักราช ๒๕๓๔ มีการขยายอัตรากองปฏิบัติการพิเศษ โดยมีผู้บังคับการในอัตรา “ นาวาอากาศเอก พิเศษ ” ขึ้นการบังคับบัญชาโดยตรงกับ “ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน ” มีหน่วยขึ้นตรงซึ่งประกอบด้วย ดังนี้กองบังคับการ,กองร้อยปฏิบัติการพิเศษ,กองร้อยค้นหาช่วยชีวิตและควบคุมการรบ, กองร้อยรถเกราะ, กองร้อยส่งทางอากาศ,กองร้อยสุนัขทหาร, แผนกสนับสนุน
ปีพุทธศักราช ๒๕๓๙ ได้มีการปรับอัตราจากกองปฏิบัติการพิเศษให้เป็น “ กรมปฏิบัติการพิเศษ ” โดยมีผู้บังคับการกรมปฏิบัติการพิเศษในอัตรา “ นาวาอากาศเอก พิเศษ “ ขึ้นการบังคับบัญชากับหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน กองบัญชาการยุทธทางอากาศ มีหน่วยขึ้นตรงซึ่งประกอบด้วยดังนี้ กองบังคับการ, กองพันปฏิบัติการพิเศษ ๑, กองพันปฏิบัติการพิเศษ ๒, กองร้อยรถเกราะ, กองร้อยสุนัขทหาร, แผนกสนับสนุน, ฝ่ายส่งทางอากาศ
ปีพุทธศักราช ๒๕๕๓ กรมปฏิบัติการพิเศษได้มีการขยายอัตราเพิ่มขึ้นโดยมีการบังคับการออกเป็น ๔ ส่วนของการบังคับบัญชาได้แก่ กองบังคับการ,กองพันปฏิบัติการพิเศษ ๑,๒,๓ นับแต่นั้นมากรมปฏิบัติการพิเศษ ได้มีการพัฒนาปรับปรุงหน่วยให้มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องและมีการฝึกอบรบเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้ความสามารถเทียบเท่ากับนานาประเทศได้มีการส่งกำลังพลภายในหน่วยไปฝึกด้านปฏิบัติการพิเศษในต่างประเทศ ทั้งในยุโรปและอเมริกาตลอดจนการเข้าฝึกรบร่วมกับประเทศต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน |